แอรอน ฮิลเลล สวอตซ์ (อังกฤษ: Aaron Hillel Swartz; 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 – 11 มกราคม พ.ศ. 2556) เป็นทั้งนักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักลงทุน นักเขียน ผู้จัดตั้งทางการเมือง ชาวอเมริกันซึ่งอยู่ใน ลัทธิแฮกเกอร์อินเทอร์เน็ต เขามีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบของฟีดที่เรียกว่าอาร์เอสเอส และรูปแบบภาษามาร์กอัปมาร์กดาวน์ องค์กรครีเอทีฟคอมมอนส์ โครงร่างเว็ปไซต์ web.py และเว็ปไซต์ข่าวทางสังคมอย่างเรดดิต ซึ่งเขาได้เป็นหุ้นส่วนหลังจากที่เว็ปไซต์ได้ร่วมมือกับบริษัทของเขาที่ชื่อว่า Infogami.[i] สวอตซ์ได้ฆ่าตัวตายระหว่างที่อยู่ภายใต้ข้อกล่าวหาว่าด้วยการขโมยข้อมูล งานของสวอตซ์นั้นมุ้งเน้นไปในด้านความตระหนักและการเคลื่อนไหวทางการเมือง เขามีส่วนช่วยในการเปิดตัวของ Progressive Change Campaign Committee ในปี 2552 เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านการเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2010 เขาได้เป็นนักวิจัยที่ Safra Research Lab on Institutional Corruption ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของลอว์เรนซ์ เลสสิก เขาก่อตั้งกลุ่มออนไลน์ที่ชื่อว่า Demand Progress ซึ่งเป็นที่รู้จักในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ในวันที่ 6 มกราคม 2554 สวอตซ์ถูกจับกุมตัวโดยตำรวจ MIT หลังจากต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายของ MIT และแอบไว้ในห้องที่ไม่ได้ล็อกในเขตหวงห้าม และตั้งให้ดาวน์โหลดบทความจากวารสารวิชาการอย่างเป็นระบบจาก JSTOR ผ่านทางบัญชี guest ที่ MIT มอบให้ จากนั้นเขาได้ถูกเข้าจับกุมด้วยการที่เขาฉ้อโกงทางสาย 2 ครั้ง และละเมิดกฎหมายการฉ้อโกงและการใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ผิดถึง 11 ครั้ง ซึ่งมีโทษปรับรวมสูงสุดถึง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำคุกรวมสูงสุด 35 ปี การริบสินทรัพย์ การชดใช้ และควบคุมความประพฤติ
สวอตซ์ได้ปฏิเสธการต่อรองการรับสารภาพซึ่งจะทำให้เค้าติดคุกเป็นเวลา 6 เดือน สองวันหลังจากการปฏิเสธ ศพของเขาได้ถูกพบในห้องชุดของเขาที่บรุกลิน ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้จบชีวิตตัวเองด้วยการแขวนคอ
ในเดือนมิถุนายน ปี 2556 สวอตซ์ได้ถูกใส่ชื่อให้อยู่ในหอเกียรติยศอินเทอร์เน็ตหลังจากที่เสียชีวิต
สวอตซ์เกิดที่ไฮแลนด์พาร์ก รัฐอิลลินอยส์ แถบชานเมืองของชิคาโก เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวชาวยิว โดยมี ซูซัน และ รอเบิร์ต สวอตซ์เป็นแม่และพ่อ พ่อของเขาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Mark Williams Company สวอตซ์ได้จมตัวเองกับการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ การโปรแกรม อินเทอร์เน็ต และวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต ในวัยเด็กเขาเข้าเรียนที่ North Shore Country Day School ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนเล็กๆใกล้กับชิคาโกจนถึงชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 สวอตซ์ได้ออกจากไฮสกูลในชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 และได้ลงทะเบียนเข้าเรียนหลักสูตรที่มหาลัยแถบชิคาโก
ตอนอายุ 13 สวอตซ์ได้ชนะรางวัล ArsDigita Prize ซึ่งจะให้เหล่าผู้เยาว์ที่สร้างเว็ปไซต์ที่ไม่แสวงหากำไรซึ่ง "มีประโยชน์ ให้ความรู้ และสร้างความสามัคคี" เมื่ออายุ 14 ปี เขาได้เข้าเป็นสมาชิคของกลุ่มงานที่เป็นผู้สร้างข้อมูลจำเพาะของระบบการกระจายข่าวทางเว็บไซต์ RSS 1.0
ในปี 2544 สวอตซ์เข้าร่วมกลุ่มทำงาน RDFCore ใน World Wide Web Consortium (W3C) ซึ่งเขาเป็นผู้เขียน RFC 3870 หรือ การขึ้นทะเบียนชนิดสื่อสิ่งพิมพ์ของ Application/RDF+XML โดยเอกสารนั้นระบุเกี่ยวกับชนิดสื่อสิ่งพิมพ์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "RDF/XML" ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้กับเว็บเชิงความหมาย
สวอตซ์เป็นผู้มีส่วนร่วมหลักในการพัฒนามาร์กดาวน์ ซึ่งเป็นภาษามาร์กอัปเบาสำหรับสร้าง HTML และผู้คิดสร้างตัวแปล html2text ที่ใช้ร่วมกัน โครงสร้างภาษาสำหรับมาร์กดาวน์นั้นได้อิทธิพลมาจากภาษา atx ของสวอตซ์ (ปี 2545) ซึ่งทุกวันนี้ถูกจดจำจากโครงสร้างภาษาสำหรับบ่งบอกเฮดเดอร์ (header) หรือที่เรียกกันว่า เฮดเดอร์รูปแบบ atx
สวอตซ์เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในขณะอยู่ปี 1 สวอตซ์ได้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนครั้งแรกที่จัดขึ้นโดยบริษัทวายคอมบิเนเตอร์ และเสนอว่าจะทำงานให้กับบริษัทเกิดใหม่ (startup) ที่มีชื่อว่า อินโฟกามิ (Infogami) ซึ่งถูออกแบบให้เป็นระบบจัดการเนื้อหาที่มีความยืดหยุ่น เพื่อสร้างเว็ปโซต์ที่มีความอุดมสมบูรณ์และน่าสนใจ หรือรูปแบบหนึ่งของวิกิสำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้าง หลังจากทำงานกับ อินโฟกามิ ด้วยกันกับผู้ก่อตั้งร่วมที่มีชื่อว่า ไซมอน คาร์สเทนเซ็น (Simon Carstensen) ตลอดฤดูร้อนของปี 2548, อารอนตัดสินใจที่จะไม่กลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดแต่กลับมุ่งหน้าพัฒนาและหาทุนให้กับอินโฟกามิ
เมื่อครั้นอินโฟกามิประสบปัญหาทางด้านทุนทรัพย์ ผู้สร้างของวายคอมบิเนเตอร์ได้เสนอให้อินโฟกามิรวมเข้ากับเรดดิต โปรเจกต์ทั้งสองได้รวมกันในปี 2548 กลายเป็นบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า น็อท อะ บัค (Not A Bug) ซึ่งมุ้งเน้นไปในการพัฒนาโปรเจกต์ทั้งสอง แม้ตอนแรกทั้งสองโปรเจกต์จะมีปัญหาทางด้านการดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ เรดดิตเริ่มเป็นที่นิยมในวงกว้างช่วงปี 2548 และ 2549
ในเดือนตุลาคม ปี 2549 บนพื้นฐานของความสำเร็จของเรดดิต น็อท อะ บัค ได้ถูกโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ สำนักพิมพ์ Cond? Nast เจ้าของนิตยสารไวร์ด์ สวาร์สซกับบริษัทของเขาได้ย้ายไปทำงานให้กับนิตยสารไวร์ด์ที่ซานฟรานซิสโก ทว่าจากนั้นสวอตซ์ไม่พอใจกับการทำงานในออฟฟิศ และได้ออกจากบริษัทในที่สุด
ในเดือนกันยายนปี 2550 สวอตซ์ได้ร่วมมือกับผู้ก่อตั้งร่วมของอินโฟกามิที่ชื่อว่า ไซมอน คาร์สเทนเซ็น ในการเปิดตัวบริษัทใหม่ชื่อ จอททิต (Jottit) เป็นความพยายามอีกครั้งที่จะสร้างระบบจัดการเนื้อหาขับเคลื่อนโดยมาร์คดาวน์ในภาษาไพทอน
สวอตซ์มีส่วนร่วมในการรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) ซึ่งมีเป้าหมายในการต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ต แต่กลับถูกวิจารย์ในพื้นฐานที่การต่อต้านนั้นทำให้รัฐบาลสหรัฐเข้าปิดเว็ปไซต์ที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิได้ง่ายขึ้น และยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หลังจากที่ร่างกฎหมายถูกยกเลิก สวอตซ์ได้เป็นผู้บรรยายจากองค์ปาฐก ณ งาน F2C:Freedom to Connect 2012 ที่ วอชิงตัน ดี.ซี. ในวันที่ 21 พฤษภาคม ปี 2555 ภายใต้หัวข้อการบรรยายชื่อ "เราหยุด SOPA ได้อย่างไร" ซึ่งเขาได้บอกผู้ชมว่า
"เราชนะการต่อสู้ครั้งนี้เพราะทุกคนทำให้ตัวเองเป็นวีรบุรุษในเรื่องของตนเอง ทุกคนทำให้การรักษาเสรีภาพนี้เป็นหน้าที่ของตนเอง" เขาอ้างถึงการประท้วงต่อร่างกฎหมายโดยหลากหลายเว็ปไซต์ซึ่งถูกกล่าวถึงใน Electronic Frontier Foundation ว่าใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีเว็ปไซต์มากกว่า 115,000 เว็ปไซต์ทำการปรับแต่งหน้าเพจของตนเอง สวอตซ์ยังได้บรรยายหัวข้อนี้ในงานจัดโดย ThoughtWorks อีกด้วย
สวอตซ์ได้เป็นอาสาสมัครแก้ไขบทความในวิกิพีเดีย และในปี 2549 สวอตซ์ได้เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับวิธีที่บทความในวิกิพิเดียถูกเขียน และได้สรุปว่าข้อมูลส่วนใหญ่ในบทความต่างๆนั้นมาจากผู้มีส่วนร่วมเป็นครั้งคราว หรือ "คนนอก" นับหมื่นคน ซึ่งอาจไม่มีส่วนร่วมอื่นในวิกิพีเดียเลย ส่วนกลุ่มสมาชิกหลักซึ่งประกอบด้วย 500 ถึง 1000 คนที่เป็นสมาชิกประจำ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้แก้ไขตัวสะกดและข้อผิดพลาดทางรูปแบบ สวอตซ์ได้กล่าวว่า "ผู้แก้ไขรูปแบบเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีส่วนร่วม ไม่ใช่ในทางกลับกัน"
อ้างอิงจากผู้มีอำนาจทางภาครัฐและสหพันธรัฐ สวอตซ์ใช้ JSTOR ซึ่งเป็นที่เก็บดิจิทัล เพื่อดาวน์โหลดวารสารวิชาการจำนวนมาก[ii] ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ MIT ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ในท้ายปี 2553 และ ต้นปี 2554 ในขณะนั้น สวอตซ์ยังเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอีกด้วย ซึ่งเป็นผู้ให้บัญชีของ JSTOR ผู้เยี่ยมชม "มหาลัยแบบเปิด" ของ MIT นั้นได้รับอนุญาตให้เข้าชม JSTOR ผ่านทางระบบเครือข่ายของ JSTOR เอง
ผู้มีอำนาจได้กล่าวว่าสวอตซ์ดาวน์โหลดเอกสารผ่านแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อกับสวิตช์ระบบเครือข่ายในห้องควบคุมการเข้าถึงผ่านสายใน MIT จากรายงานข่าว ประตูของห้องนั้นไม่ได้ถูกล็อก เมื่อถูกจับได้ JSTOR อ้างว่าลูกจ้างของบริษัทได้ติดตั้งกล้องวีดีโอในห้องเพื่อดักถ่ายสวอตซ์โดยไม่ได้แตะต้องกับคอมพิวเตอร์ของเขา หลังจากที่วีดีโอถูกเผยแพร่ การดาวน์โหลดได้หยุดลงและสวอตซ์ได้ถูกชี้ตัว แทนที่จะต่อสู้กับคดี ในเดือนมิถุนายน ปี 2554 เขาได้ยอมลบไฟล์ที่ดาวน์โหลดไปทั้งหมด
ในคืนวันที่ 6 มกราคม ปี 2554 สวอตซ์ถูกจับกุมใกล้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดโดย ตำรวจ MIT และหน่วยตำรวจลับของสหรัฐ เขาถูกนำตัวมาขึ้นศาลที่เคมบริดจ์โดยมีสองข้อหาเกี่ยวกับการบุกรุกและตั้งใจบุกเข้าไปเพื่อทำอาชญากรรม
ในคืนของวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 ศพสวอตซ์ถูกพบในห้องชุดของเขาที่บรุกลินโดยแฟนของเขา Taren Stinebrickner-Kauffman. โฆษกหญิงสำหรับเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพนิวยอร์กรายงานว่าเขาได้ผูกคอตาย โดยไม่พบจดหมายลาตาย ครอบครัวของสวอตซ์และแฟนของเขาได้สร้างเว็ปไซต์เพื่อระรึกถึง โดยบนเว็ปไซต์ได้เขียนไว้ว่า "เขาได้ใช้ทักษะที่อัจฉริยของเขาในการเป็นผู้เขียนโปรแกรมและนักเทคโนโลยี ไม่ใช่เพื่อกำไรต่อตัวเอง แต่เพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตและโลกนี้เป็นที่ที่มีความยุติธรรมมากขึ้น และเป็นที่ที่ดีขึ้น"
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Indictmentu" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้าอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "ibt" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้าอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Schwartz2009" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้าอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Singel2009" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า